การตอบสนองทางสรีรภาพ ของ ความเครียด (จิตวิทยา)

ความเครียดที่มีผลต่อการสื่อสาร

ร่างกายตอบสนองต่อความเครียดโดยประการต่าง ๆการปรับระดับสารเคมีในร่างกายเป็นวิธีอย่างหนึ่งต่อไปนี้เป็นตัวอย่างของการปรับเปลี่ยนในร่างกายที่มีผลต่อการสื่อสาร

general adaptation syndrome

เมื่อวัดการตอบสนองของร่างกายต่อความเครียด นักจิตวิทยามักจะใช้แบบจำลอง general adaptation syndrome ของ นพ. แฮนส์ เซ็ลเยซึ่งบ่อยครั้งเรียกว่าการตอบสนองต่อความเครียดแบบคลาสสิก เป็นเรื่องเกี่ยวกับภาวะธำรงดุลและมีระยะสามขั้นตอนคือ

  1. ปฏิกิริยาตกใจ (alarm reaction) เป็นระยะที่เกิดเมื่อตัวก่อความเครียดปรากฏ ซึ่งร่างกายก็จะเตรียมตัวรับมือ ส่วนสมอง คือ แกนไฮโปทาลามัส-พิทูอิทารี-อะดรีนัลและระบบประสาทซิมพาเทติกจะเริ่มทำงาน มีผลให้หลั่งฮอร์โมนจากต่อมหมวกไต เช่น cortisol, เอพิเนฟรีน และ norepinephrine เข้าไปในเลือดเพื่อปรับการทำงานของร่างกาย คือ เพิ่มพลังงาน เพิ่มแรงกล้ามเนื้อ ลดความไวเจ็บ หน่วงระบบย่อยอาหาร และเพิ่มความดันโลหิต[55][56] อนึ่ง กลุ่มนิวรอน locus coeruleus ภายในพอนส์ของก้านสมอง ซึ่งส่งแอกซอนไปยังส่วนต่าง ๆ ของสมอง ก็หลั่ง norepinephrine ไปที่นิวรอนอื่น ๆ โดยตรงด้วย norepinephrine ในระดับสูงซึ่งทำงานเป็นสารสื่อประสาทโดยออกฤทธิ์ที่หน่วยรับของมันในเขตสมองต่าง ๆ เช่นที่คอร์เทกซ์กลีบหน้าผากส่วนหน้า (prefrontal cortex) เชื่อว่ามีผลต่อ executive functions เช่น ความจำใช้งาน (working memory) ที่ทำงานไม่สมบูรณ์เนื่องจากความเครียด
  2. ระยะต่อต้าน/ขัดขืน (resistance) - ร่างกายจะต่อต้านความเครียดเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ในระยะนี้ จนกระทั่งหมดทรัพยากร ซึ่งนำไปสู่ระยะหมดแรง หรือจนกระทั่งหมดสิ่งเร้าที่ทำให้เครียด เมื่อร่างกายใช้ทรัพยากรหมดไปเรื่อย ๆ บุคคลก็จะรู้สึกเหนื่อยขึ้น ๆ และเสี่ยงต่อโรค นี่เป็นระยะที่โรคกายเหตุจิต (psychosomatic disorder) เริ่มปรากฏ[56]
  3. ระยะเหนื่อย/หมดทรัพยากร (exhaustion) - ร่างกายได้หมดฮอร์โมนและทรัพยากรอื่น ๆ ที่ต้องใช้เพื่อจัดการตัวก่อความเครียด บุคคลจะเริ่มแสดงพฤติกรรมต่าง ๆ เช่น วิตกกังวล หงุดหงิด เลี่ยงความรับผิดชอบและความสัมพันธ์กับผู้อื่น มีพฤติกรรมทำลายตนเอง และตัดสินใจไม่ดี เมื่อมีอาการเหล่านี้ ก็จะมีโอกาสกระทบกระทั่งกับผู้อื่นสูงขึ้น ทำลายความสัมพันธ์กับผู้อื่น หรือหลีกเลี่ยงการเข้าสังคมโดยสิ้นเชิง[56] การตอบสนองที่ระบบประสาทซิมพาเทติกทำงานมากเช่นนี้ บ่อยครั้งเรียกว่าการตอบสนองโดยสู้หรือหนี (fight or flight response) ซึ่งรวมการขยายม่านตา หลั่งเอ็นดอร์ฟิน เพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจและการหายใจ ระงับกระบวนการย่อยอาหาร หลั่งเอพิเนฟรีน ขยายหลอดเลือดแดงเล็ก และยุบหลอดเลือดดำ การตอบสนองในระดับสูงเช่นนี้บ่อยครั้งไม่จำเป็นเพื่อรับมือต่อตัวก่อความเครียดและอุปสรรคเล็ก ๆ น้อย ๆ ในชีวิตประจำวัน แต่ก็เป็นรูปแบบการตอบสนองที่พบในมนุษย์ และบ่อยครั้งนำไปสู่ปัญหาทางสุขภาพซึ่งปกติสัมพันธ์กับความเครียดในะระดับสูง[57]

คุณภาพการนอน

การนอนหลับเป็นการพักผ่อนและฟื้นกำลังหลังจากทำงานทั้งวันดังนั้น การนอนให้พอจึงสำคัญมากสำหรับคนเครียดเพราะช่วยให้คิดได้ดีขึ้นแต่โชคไม่ดีว่า ความเครียดเปลี่ยนแปลงสภาพทางเคมีของร่างกายแล้วทำให้นอนยากเช่น ฮอร์โมนสเตอรอยด์ที่หลั่งตอบสนองความเครียดคือ glucocorticoid สามารถขัดการนอนการนอนหลับมี 4 ระยะและระยะที่ลึกสุดและทำให้พักผ่อนได้มากสุด จะได้ก็ต่อเมื่อหลับแล้ว 1 ชม.[ต้องการอ้างอิง]ถ้าการนอนถูกขัดเรื่อย ๆ ก็จะไม่สามารถพักผ่อนได้เพียงพอซึ่งทำให้หงุดหงิดและไม่สามารถสื่อสารกับคนอื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ[58]

ประสบการณ์เครียดทางสังคมที่มีผลต่อการสื่อสาร

ความเครียดอาจก่อปัญหาหลายอย่างอย่างหนึ่งที่รู้ก็คือสื่อสารได้ไม่ดีต่อไปนี้เป็นตัวอย่างที่ความเครียดมีผลต่อการสื่อสาร

ความแตกต่างทางวัฒนธรรม

วัฒนธรรมต่าง ๆ ของโลกสามารถจัดเป็น 2 หมู่คือสังคมแบบปัจเจกบุคคล และสังคมแบบชุมชนนิยม[58]

  • สังคมแบบปัจเจกบุคคล เช่นที่พบในสหรัฐ ทุกคนเป็นอิสระจากกันและกัน มีความสำเร็จและเป้าหมายเป็นของตนเอง
  • สังคมแบบชุมชนนิยม เช่นที่พบในประเทศเอเชียต่าง ๆ มองสังคมว่าต้องพึ่งซึ่งกันและกัน และให้ค่านิยมแก่ความถ่อมตัวและครอบครัว

ความแตกต่างทางวัฒนธรรมเช่นนี้อาจมีผลต่อการสื่อสารระหว่างบุคคลเมื่อเครียดยกตัวอย่างเช่น สมาชิกของวัฒนธรรมแบบปัจเจกบุคคลอาจลังเลในการขอยาแก้ปวดเพราะไม่ต้องการถูกดูถูกว่าอ่อนแอแต่สมาชิกของสังคมแบบชุมชนนิยมไม่จำเป็นต้องลังเลเพราะเป็นสังคมที่ทุกคนช่วยเหลือซึ่งกันและกัน เป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน[58]

การเปลี่ยนแปลงภายในครอบครัว

การหย่าร้าง ความตาย และการแต่งงานใหม่ล้วนแต่เป็นเหตุการณ์สร้างความยุ่งเหยิงในครอบครัว[58]แม้ทุกคนที่เกี่ยวข้องจะได้รับผล แต่ก็อาจมีผลแก่เด็กมากที่สุดเพราะอายุน้อยจึงยังไม่มีทักษะรับมือกับสถานการณ์ใหม่ ๆ[ต้องการอ้างอิง]เพราะเหตุนี้ เหตุการณ์เครียดอาจเปลี่ยนพฤติกรรมของเด็กการคบเพื่อนกลุ่มใหม่ หรือการเกิดนิสัยใหม่ที่ไม่ดี เป็นความเปลี่ยนแปลงอย่างหนึ่งที่ความเครียดอาจเป็นตัวจุดชนวน[58]

การตอบสนองต่อความเครียดที่น่าสนใจอย่างหนึ่งก็คือการคุยกับเพื่อนจินตนาการเด็กอาจจะรู้สึกโกรธพ่อแม่หรือเพื่อนซึ่งตนรู้สึกว่าทำให้ชีวิตของตนต้องเปลี่ยนไปและต้องการหาคนคุยด้วยแต่ต้องไม่ใช่คนที่โกรธดังนั้น จึงคุยกับเพื่อนที่ไม่มี แต่นี่เท่ากับไม่คุยกับบุคคลรอบ ๆ ตัว[58]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ความเครียด (จิตวิทยา) http://www.collinsdictionary.com/dictionary/englis... http://blog.ted.com/could-stress-be-good-for-you-r... http://www.ttgmice.com/article/cwt-rolls-out-solut... http://oregonstate.edu/instruct/dce/hhs231_w04/nin... http://www.cla.purdue.edu/academic/engl/theory/psy... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2568977 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3374921 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3871742 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4253863 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/11392869